วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หอเอนเมืองปิซา

หอเอนเมืองปิซา
 


หอเอนเมืองปิซา เมืองปิซา ประเทศอิตาลี ทัวร์ต่างประเทศ
 
หอเอนเมืองปิซา (อิตาลี: Torre pendente di Pisa หรือ La Torre di Pisa, อังกฤษ: Leaning Tower of Pisa)
ตั้งอยู่ที่เมืองปิซา ในจัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม (Piazza Del Duomo) หอระฆังของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นหอทรงกระบอก 8 ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว สูง 183.3 ฟุต (55.86 เมตร) น้ำหนักรวม 14,500 ตันโดยประมาณ มีบันได 293 ขั้น เอียง 3.97 องศา ยอดของหอห่างจากแนวตั้งฉาก 3.9 เมตร

หอเอนปิซ่า

การสร้าง

เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1173 สร้างเสร็จเมื่อปี 1350 ใช้เวลาสร้างประมาณ 175 ปี แต่การก่อสร้างหยุดชะงักเมื่อสร้างไปได้ถึงชั้น 3 เนื่องจากพื้นใต้ดินเป็นพื้นดินที่นิ่ม ทำให้ยุบตัว ต่อมาในปี ค.ศ.1272 โดย Giovanni di Simone สร้างให้เอนกลับไปอีกด้านหนึ่งเพื่อให้สมดุล แต่การก่อสร้างในครั้งนี้ ก็ต้องหยุดชะงักลงอีกครั้งเนื่องจากเกิดสงคราม ต่อมาก็มีการสร้างหอต่อขึ้นอีกและสร้างเสร็จ 7 ชั้น ในปี ค.ศ.1319 แต่หอระฆังถูกสร้างเสร็จในปี ค.ศ.1372 โดยใช้เวลาสร้างทั้งหมด 177 ปี หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1990-2001 หอเอนปีซาได้รับการปรับปรุงฐานให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้หอล้มลงมา หอเอนแห่งเมืองปิซา สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว สูง 181 ฟุต มี 8 ชั้น แต่ละชั้นมีเสาหินอ่อนรองรับ

ประวัติ
กาลิเลโอ กาลิเลอิ เคยใช้หอนี้ทดลองเกี่ยวกับเรื่อง แรงโน้มถ่วง ในตอนที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปิซา โดยใช้ลูกบอล 2 ลูกที่น้ำหนักไม่เท่ากันทิ้งลงมา เพื่อพิสูจน์ว่า ลูกบอล 2 ลูกจะตกถึงพื้นพร้อมกัน ซึ่งก็เป็นไปตามที่กาลิเลโอคาดไว้ ในปี ค.ศ.1934 เบนิโต มุสโสลินี พยายามจะทำให้หอกลับมาตั้งฉากดังเดิม โดยเทคอนกรีตลงไปที่ฐาน แต่กลับทำให้หอยิ่งเอียงมากขึ้นไปอีก กองทัพสหรัฐฯ ตัดสินใจไม่ยิงปืนใหญ่ใส่หอเอนเมืองปิซา วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1964 รัฐบาลอิตาลี พยายามหยุดการเอียงของหอเอนเมืองปิซา โดยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น วิศวกร นักคณิตศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ โดยใช้เหล็กรวมกว่า 800 ตัน ค้ำไว้ไม่ให้หอล้มลงมา ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1990 หอเอนเมืองปิซาถูกปิดไม่ให้นักท่องเที่ยว เพื่อความปลอดภัย อีกทั้งยังขุดดินของอีกด้านหนึ่งออก เพื่อให้สมดุลยิ่งขึ้น และในวันที่ 15 ธันวาคม 2001 หอเอนเมืองปิซาถูกเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมอีกครั้ง และถูกประกาศว่าสมดุลแล้วใน 300 ปีต่อมาหลังจากเริ่มทำการปรับปรุง ค.ศ.1987 หอเอนเมืองปิซาถูกประกาศให้เป็นมรดกโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Piazza Dei Miracoli หอเอนเมืองปิซายังเป็น 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางอีกด้วย

โคลอสเซียม





โคลอสเซียม สนามกีฬาโรมัน แห่ง โรม ( Roman Colosseum )
โคลอสเซี่ยม หรือ โคลิเซี่ยม

Roman Colosseum โคลอสเซียม หรือ บางครั้งอาจเรียกว่า โคลิเซียม เป็นสนามกีฬากลางแจ้ง ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ใจกลาง กรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นสิ่งก่อสร้างขนาด ใหญ่ที่สุด เป็นสุดยอดสถาปัตยกรรม เป็นสุดยอดทางวิศวกรรม แห่งยุคโรมันที่มีการก่อสร้างขึ้น จึงทำให้ โคลอสเซียม สนามกีฬาโรมัน แห่งนี้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมัหัศจรรย์ของโลก จวบจนทุกวันนี้
จักรพรรดิ์ โรมัน
จักรพรรดิ์ผู้สร้าง โคลอสเซี่ยม กษัตริย์โรมัน 
ซ้าย จักรพรรดิเวสเปเซียน ผู้ริเริ่มก่อสร้าง โคลอสเซียม กลาง จักรพรรดิไททัส โคลอสเซี่ยมเสร็จในยุคนี้ และขวา จักรพรรดิโดมิเทียนัส ทำการแก้ไขปรับปรุงโคลอสเซียม


ข้อมูลเฉพาะ โคลอสเซียม สนามกีฬาโรมัน

  • ถูกสร้างขึ้น ทางทิศตะวันออกของ โรมันฟอรัม ( Roman Forum ) บริเวณใจกลาง กรุงโรม ประเทศอิตาลี
  • ทำการก่อสร้างใน คริสต์ศตวรรษที่ 1 ประมาณในช่วงระหว่าง คริศต์ศักราช 70 ในรัฐสมัยของจักรพรรดิเวสเปเซียน ( Titus Flavius Vespasianus )
  • ทำการก่อสร้างแล้วเเสร็จใน คริศต์ศักราช 80 ในรัฐสมัยของจักรพรรดิไททัส ( Titus Flavius Vespasianus II)
  • มีการแก้ไขในในช่วงระหว่างคริสต์ศักราช 81-96 ในรัชสมัยของจักรพรรดิโดมิเทียนัส (Titus Flavius Domitianus )
  • ลักษณะการก่อสร้าง เป็นสนามกีฬากลางแจ้ง เป็นรูปไข่ ส่วนที่ยาวที่สุดยาว 189 เมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 156 เมตร
  • โคลอสเซียมมีความสูง 48 เมตร
  • โคลอสเซียมมีเส้นรอบวงประมาณ 548 เมตร
  • บริเวณฐานตั้งอยู่บนพื้นที่ 24,000 ตารางเมตร
  • บริเวณตรงกลางเป็นลานประลอง รูปไข่ ที่ยาวที่สุดยาว 87.5 เมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 54.9 เมตร โดยรอบลานประลองมีกำแพงสูง 4.6 เมตร เหนือขึ้นไปเป็นที่นั่งชมการประลองโดยรอบ
  • โคลอสเซียม สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน
ลักษณะ โครงสร้าง และสถาปัตยกรรม ของ โคลอสเซียม แห่งโรม 

รูปตัด โคลอสเซี่ยม
1 Awnings

ออนิง หรือ ระบบผ้าใบบังแดด ของ โคลอสเซียม นั้นใช้ในช่วงฤดูร้อน ที่ไม่มีลมเพื่อช่วยลดอุณหภูมิจากแสงแดดที่ส่องลงมายังผู้เข้าชม ในช่วงแรกของการก่อสร้าง โคลอสเซียม นั้นไม่มีระบบผ้าใบบังแดด ( Awnings ) ระบบนี้เกิดขึ้นเมื่อจักรพรรดิ แห่ง โรมัน พระองค์หนึ่งทรงมีดำริว่า ในบางช่วงที่มีอากาศร้อนมาก ระหว่างที่มีการแสดงโชว์ แกลดิเอเตอร์ ( Gladiators ) นั้นควรจะมีระบบผ้าใบบังแดด เพื่อลดความร้อน เพื่ออำนวยความสะดวกแต่ผู้ชม จึงได้มีการจัดสร้างระบบผ้าใบบังแดดขึ้น โดยบริเวณลานอรีน่า ตรงกลางเว้นว่างไว้ โดยทำเป็นโครงขนาดใหญ่ ยึดโยงด้วยเชือกสองจุด เชือกชั้นล่างมีไว้สำหรับรองรับผ้าใบที่สามารถคลี่ลงมาจากด้านบน โดยเชือกทั้งเส้นโยงไปยังเสากระโดง ที่ปักเรียงรายอยู่รอบ โคลอสเซียม ผ่านระบบรอก โยงยึดลงสู่พื้นดินด้านล่างผ่านกว้านขนาดใหญ่ด้านล่าง ดังภาพ
ระบบผ้าใบคลุม โคลอสเซี่ยม
รูปภาพ ระบบออนิง หรืิอ ผ้าใบบังแดด ของสนามกีฬา โคลอสเซียม ภาพโดย Frank Sear, Roman Architecture


2 Seating & Society

ที่นั่งชม ภายใน โคลอสเซียม แบ่งตามระดับชนชั้น จำนวน 5 ชั้น โดยความจุสูงสุดของ สนามกีฬา โคลอสเซียม ในสมัยนั้นประมาณ 87,000 คน แต่้ถ้าเทียบกับสนามกีฬาสมัยใหม่ โคลอสเซียมก็มีขนาดความจุประมาณสนามกีฬาที่มีความจุผู้ชมประมาณ 50,000 คน ( สมัยก่อนไม่มี FIFA มาคอยกำหนดกฎ อะไรจึงเบียดกันเข้าไปไม่มีปัญหา จึงจุได้ถึง 87,000 คน ) เนื่องจากชาวโรมันมีนิสัย เหยียดชนชั้น จึงมีการแบ่งที่นั่งจะแบ่งแยกตามระดับชนชั้นดังต่อไปนี้
  • ชั้นโพเดียม (Podium) คือชั้นที่สามารถมองเห็นการต่อสู้ใน อรีน่าได้ชัดเจนที่สุด ดีที่สุด บริเวณทิศเหนือ จะเป็นที่นั่งชมของ กษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ และ นักบวชหญิง (Vestal Virgins) ส่วนบริเวณอื่นของชั้นโพเดียม เป็นที่สำหรับผู้แทนสภา โดยที่นั่งแต่ละตัวจะมีการสลักชื่อไว้ เพื่อเป็นที่นั่งส่วนตัว
  • ชั้น มีเนียนั่ม พรีเมียม (Maenianum Primum) เป็นชั้นที่ถัดขึ้นไปจากชั้นโพเดียม เป็นที่นั่งสำหรับ ชนชั้นสูง อัศวิน แม่ทัพ
  • ชั้น Maenianum Secundum แบบ Immum เป็นชั้นที่นั่ง สำหรับ ชาวโรมันที่ร่ำรวย
  • ชั้น Maenianum Secundum แบบ Summum เป็นชั้นที่นั่ง สำหรับ ชาวโรมันทั่วไป
  • ชั้น Maenianum Secundum in legneis เป็นชั้นสุดท้าย อยู่ไกลที่สุด ไม่มีที่นั่งเป็นพื้นราบ หรือบางส่วนอาจมีชั้นไม้สำหรับยืนดู เป็นที่สำหรับ ชาวต่างชาติ ทาส และผู้หญิง
  • หมายเหตุ มีบางอาชีพที่จะไม่ได้รับอนุญาต ให้เข้าสู่ โคลอสเซียม เช่น สัปเหร่อ นักแสดง และ นักสู้แกลดิเอเตอร์ ( Gladiators )
การแบ่งชั้น ที่นั่งใน โคลอสเซี่ยม
รูปภาพ แสดงการแบ่งชั้นที่นั่ง ของแต่ละชนชั้น ในสังคมชาวโรมัน โดยที่นั้งแต่ละตัวจะสามารถบ่งบอกถึงฐาน และชนชั้น ได้ โดยพวกชั้นชั้นต่ำที่นั่งจะเป็นหินธรรมดา แต่ชนชั้นสูงที่นั่งจะเป็ฯหินอ่อน


การแบ่งบันได ในโคลอสเซี่ยม
รูปแสดงบันไดทาง ขึ้น - ลง อัศจรรย์ ทียังมีการแบ่งบันไดไว้ชัดเจนของแต่ละชนชั้นอย่างชัดเจน
  • บันไดสีเขียว สำหรับ กษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ และ นักบวชหญิง
  • บันไดสีส้ม สำหรับ ชนชั้นสูง อัศวิน แม่ทัพ
  • บันไดสีฟ้า สำหรับ ชาวโรมัน
  • บันไดสีแดง สำหรับ ชาวต่างชาติ ทาส และผู้หญิง
รูปจากหนังสือ F. Coarelli, Roma (Mondadori Guide), p. 183


3 Cirulation System

ระบบวงแหวน ซึ่ีงเป็นการออกแบบที่ชาญฉลาด อย่างมากทั้งในแง่ของ ทางวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม ในแง่ทางวิศวกรรม วัสดุที่ใช้ก่อสร้างหลักมี 3 ชนิดคือ
  • Travertine Rock เป็นส่วนโครงสร้างรับนำหนัก เช่น เสา คานโค้ง ( Arched Vaults ) ยึดโยงกันเป็นระบบวงแหวน
  • Roman Concrete เป็นส่วนโครงสร้างที่หล่อทำพื้นระเบียงทางเดิน บันได้ อัศจรรย์คนดู โดยหล่อทับในส่วนคาน และเสาที่ก่อสร้างด้วย Travertine Rock เพื่อยึดระบบโครงสร้างเข้าด้วยกันเพื่อความแข็งแรง
  • Tufa Rock เป็นส่วนที่ใช้สำหรับกั้นแบ่งซอย และยังช่วยค้ำยันโครงสร้างในชั้นล่าง
ในแง่สถาปัตยกรรม
  • โดยรอบของ สนามกีฬา โคลอสเซี่ยมได้ทำการจัดสร้างประตูทางเข้า ออกไว้ถึง 80 ช่อง โดย 76 ช่องไว้สำหรับบุคคลทั่วไป ส่วนอีก 4 ช่อง ด้านเหนือสำหรบ กษัตริย์เท่านั้น
  • มีการคาดการณ์กันว่าด้วยระบบการออกแบบประตูทางเข้า ออก และระเบียงทางเดินเช่นนี้สามารถขนย้ายคนกว่า 80,000 คน เข้าออกจากสนามได้หมดภายในเวลา เพียง 3-4 นาทีเท่านั้น
  • เปลือกด้านนอกประกอบไปด้วยหิน Travertine ประดับประดากว่า 100,000 ลูกบาศก์เมตร โดยไม่หมุดโลหะยึดติดกับตัวโครงสร้าง โดยใช้หมุดโลหะน้ำหนักรวมกว่า 300 ตัน
รายละเอียด การก่อสร้าง โคลอสเซี่ยม
รูปภาพ ส่วนประกอบวัสดุก่อสร้าง โคลอสเซียม


4 The Arena

อลีน่า เป็น ส่วนลานตรงกลาง มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คำว่า " Harena " ซึ่งแปลว่า ทราย เนื่องจากพื้นลานประลองทั้งหมดก่อสร้างด้ายไม้กระดาน ปิดส่วนที่เป็นห้องใต้ดินด้านล่างซึ่งเป็นห้องขังนักสู้แกลดิเอเตอร์ และสัตว์ร้าย โดยบนไม้กระดานจะโรยทับด้วย ทรายทำให้เป็นที่มาของชื่อ อลีน่า
  • ในยุคแรก ลานอลีน่าใช้สำหรับ เป็นลานต่อสู้ ของพวกนักรบ แกลดิเอเตอร์กันเอง จนตายกันไปข้างหนึ่ง ผู้ชนะเท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์มีชีวิตรอด หรือไม่ก็ใช้ให้นักสู้ แกลดิเอเตอร์ ต่อสู้กับสัตว์ร้ายจากกาฬทวีปที่นำเข้ามา้เช่น ต่อสู้กับ สิงโต เสือดาว ช้าง จระเข้ ฮิปโปโปเตมัส ในบางครั้งอาจ ให้นักสู้บางคนต่อสู้ด้วยมือเปล่า ซึ่งโดยมากจะลงเอยด้วย การเสียชีวิตอย่าง สุดสยอง ของนักสู้แกลดิเอเตอร์
นักรบ แกลดิเอเตอร์
จากรูปเป็นสัญลักษณ์ที่เรียกว่า Pollice Verso คือการยกนิ้วโป้งคว่ำลง ซึ่งสัญญาณให้นักสู้ แกลดิเอเตอร์ที่ชนะ จัดการประหารผู้แพ้นั้นเอง
  • ในยุคกลาง ลานอลีน่า ถูกใช้เป็นลานประหาร ชาวคริสเตียน โดยให้ชาวคริสต์ทั้งเด็ก ผู้หญิง คนแก่ ลงไปอยู่กลางลานอลีน่า แล้วทำการปล่อย สิงโตเข้ามา ฆ่าชาวคริสต์ผู้โชคร้ายเหล่านั้น
การสังหาร หมู่ ชาวคริสต์ ใน โคลอสเซี่ยม
จากรูปเป็นรูปเหตุการณ์ นาทีสังหารหมู่ชาวคริสต์เตียน โดยจะเห็นว่าโดยรอบ โคลอสเซี่ยมมีชาวคริสต์ถูกตรึงกางเขน และเผาทั้งเป็น บางส่วนก็กำลังหวาดกลัว อยู่หน้าสิงโต


โคลิเซี่ยม โคลอสเซี่ยม
รูปซ้าย จะเห็นว่า โคลอสเซี่ยม แบบมีพื้นไม้ด้านบนโรยด้วยทราย เหลือช่องเปิดเล็กๆ เพื่อให้เห็นในส่วนของห้องใต้ดินด้านล่าง
รูปขวาเป็นรูป โคลอสเซียม ที่รื้อพื้นอลีน่าออก เปิดเผยให้เห็นถึงห้องใต้ดิน ห้องเล็กห้องน้อย

5 The Substructure

ห้องใต้ดิน เป็นห้องที่อยู่ใต้พื้นอลีน่า โดยสร้างเป็นห้องขังเล็กๆ จำนวน 32 ห้อง เพื่อไว้สำหรับขังนักสู้ แกลดิเอเตอร์ และสัตว์ต่าง โดยชั้นใต้ดินจะถูกแบ่งเป็น 2 ชั้นโดยมากพวกนักสู้ แกลดิเอเตอร์จะอยู่ชั้นบน จะขึ้นสู่ลาน อลีน่าโดยทางบันได้ดังรูป แล้วประตูจะถูกปิดลง ส่วนพวกสัตว์ป่าจะอยู่ชั้นล่าง และถูกขนขึ้นสู่ลานอลีน่าโดยลิฟท์ แทนเพื่อความสะดวกรวดเร็ว แล้วประตูกลจะถูกปิด และประตูกลจะเปิดอีกครั้งก็ต่อเมื่อมีผู้รอดชีวิต เป็นคนสุดท้ายเท่านั้น


ห้องใต้ดิน ใต้ลานอลีน่า ใน โคลอสเซี่ยม
จากรูปตามแนวลูกศรแดงคือทางที่นักสู้แกลดิเอเตอร์เดินขึ้นสู่ลานอลีน่า และทีุ่มุมล่างขวาจะเป็นลิฟท์สำหรับ นำสัตว์ป่า เช่าเสือดาว สิงโตขึ้นมาต่อสู้กับนักสู้ แกลดิเอเตอร์


ค่าผ่านประตูเข้าชม และ เวลาเปิด - ปิด ทำการ โคลอสเซียม

ค่าผ่านประตู
  • สำหรับนักท่องเที่ยว ราคา 15.50 ยูโร ต่อ คน
  • สำหรับชาวยุโรปที่มีอายุระหว่าง 18 - 65 ปี ราคา 10.50 ยูโร ต่อ คน
  • สำหรับชาวยุโรปที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี และมากกว่า 65 ปี ราคา 4.50 ยูโร ต่อ คน
เวลาเปิดทำการ
  • ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือน มีนาคม 9:00 -16:30 นาฬิกา
  • ช่วงกลางเดือน มีนาคม ถึงสิ้นเดือน มีนาคม 9:00 -17:00 นาฬิกา
  • ช่วงสิ้นเดือน มีนาคม ถึงสิ้นเดือน สิงหาคม 9:00 -19:00 นาฬิกา
  • ช่วงสิ้นเดือน สิงหาคม ถึงสิ้นเดือน กันยายน 9:00 -18:30 นาฬิกา
  • ช่วงสิ้นเดือน กันยายน ถึงสิ้นเดือน ตุลาคม 9:00 -18:00 นาฬิกา
  • ช่วงสิ้นเดือน ตุลาคม ถึงกลางเดือน มีนาคม 9:00 -16:00 นาฬิกา










โคลอสเซียม

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สวนลอยแห่งบาบิโลน

สวนลอยบาบิโลน ( Hanging Gardens of Babylon) จัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่บนแม่น้ำยูเฟรติส ประเทศอิรักในปัจจุบัน สร้างโดยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 3 แห่งกรุงบาบิโลเนีย สร้างให้แก่มเหสีของพระองค์ชื่อพระนางเซมีรามีส สร้างขึ้นเมื่อ 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช สุงประมาณ 75 ฟุต กินพื้นที่ 400 ตารางฟุต ระเบียงทุกชั้นได้รับการตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนพุ่มชนิดต่างๆ มีระบบชลประทานชักน้ำจากแม่น้ำไทกิสไปทำเป็นน้ำตกและนำไปเลี้ยงต้นไม้ตลอดปี สวนนี้ได้พังทลายลงจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อหลังศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช





        ระหว่างในรัชสมัยของพระเจ้านาโบโปลัซซาร์และพระโอรส คือ พระเจ้าเนบูชัดเนซซาร์ที่สอง ปกครองบาบิโลนซึ่งได้ขยายแสนยานุภาพออกไปมากมายจนรุ่งเรือง พระเจ้านาโบโปลัซซาร์ทรงโปรดให้ สร้างกำแพงมหึมาล้อมรอบมือง และโอรสก็ทรงดำเนินโครงการต่อ สร้างป้อมปราการและจุดป้องกันต่าง ๆ รอบกำแพง มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำยูเฟรตีส

        พระเจ้าเนบูชัดเนซซาร์ โปรดให้สร้างสวนลอยซึ่งมีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วจนกลายเป็น สิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลกสวนลอยนี้ เป็นสวนที่สร้างอยู่เหนือพื้นดินบนพื้นที่กึ่งทะเลทราย พระเจ้าเนบูชัดเนซซาร์ ทรงสร้างให้พระมเหสีซึ่งเป็นเจ้าหญิงแห่งมีดส์ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ดี ร่วมกันขับไล่พวกอัสซีเรียออกไปได้ ตามตำนาน พระราชินีเซมีรามิส องค์นี้ทรงอาลัยอาวรณ์ ภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาเปอร์เซีย อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนและไม่โปรดความราบเรียบของนครบาบิโลน ดังนั้นจึงมีการสร้างสวนลอยขึ้นเป็นภูเขาซึ่งสร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์

        สวนลอยแห่งนี้สร้างเมื่อประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตกาล โดยก่อเป็นเนินสูงซ้อนกันเป็นชั้นสูง ๆ สูงถึง 328 ฟุต หรือ 100 เมตร ล้อมรอบด้วยกำแพงแข็งแกร่งหนาถึง 23 ฟุต หรือ 7 เมตร แต่ละชั้น สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก และ ปลูกดอกไม้ พืชพันธุ์ต่าง ๆ ไว้จำนวนมาก พันธ์พฤกษ์สารพัดชนิดจากทุกมุมโลก รวมทั้งไม้ดอกและไม้เลื้อย บันไดที่พาขึ้นไปสู่สวน กว้างขวางทำด้วยหินอ่อนข้างใต้บันไดมีซุ่มคอยรับน้ำหนัก ข้างบนเฉลียงของสวนลอยมีถังน้ำที่คอยหล่อเลี้ยงน้ำพุ น้ำตก และสายน้ำต่าง ๆ บนสวนลอย น้ำจำนวนมากมายนี้ สูบมาจากแม่น้ำยูเฟรติสโดยทาส โดยชักน้ำจากเบื้องล่างขึ้นไปสู้ชั้นสูงสุดแล้วปล่อยให้ ไหลลงมาสู่ชั้นต่าง ๆ เบื้องล่าง

        พ่อค้าวาณิชที่เดินทางในทะเลทรายมาสู่เมืองนี้ จะได้เห็นสวนลอยแห่งนี้อยู่สูงเด่นเห็นแต่ไกล จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทิศ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฎว่ากรุงบาบิโลน อยู่ในเมืองแบกแดก ของประเทศอิรักปัจจุบัน นับว่าคนสมัยนั้นมัความสามารถทางด้านสถาปัตย์และวิศวกรรมศาสตร์อย่างน่ายกย่อง จึงสามารถรักษาสวนลอยนี้ให้สวยงามเขียวชอุ่มได้ตลอดเวลา หลังจากพระเจ้าเนบูชัดเนซซาร์สิ้นพระชนม์ลงได้ 22 ปี อาณาจักรนี้ก็ตกเป็นของจักรพรรดิไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เชีย สันนิษฐานกันว่า สวนลอยแห่งบาบิโลนนี้ ยังคงอยู่คู่เมืองจนถึงวศรรตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล 

        ปัจจุบันนี้ส่วนที่หลงเหลืออยู่ให้เราได้ชมก็คือบ่อน้ำและโค้งซุ้มประตูหนึ่งหรือสองอัน และนิยาย คำร่ำลือสืบต่อ ๆ กันมา



สวนลอยแห่งบาบิโลน



มหาพีระมิดแห่งกีซา

พีระมิดคูฟู หรือ พีระมิดคีออปส์ นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า มหาพีระมิดแห่งกีซา 
The Great Pyramid of Giza) เป็นพีระมิดในประเทศอียิปต์ที่มีความใหญ่โตและเก่าแก่ที่สุด ในหมู่พีระมิดทั้งสามแห่งกีซา เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัย ฟาโรห์คูฟู (Khufu) แห่งราชวงศ์ที่ 4 ซึ่งปกครองอียิปต์โบราณ เมื่อประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล หรือกว่า 4,600 ปีมาแล้ว เพื่อใช้เป็นที่เก็บรักษาพระศพ ไว้รอการกลับคืนชีพ ตามความเชื่อของชาวอียิปต์ในยุคนั้น มหาพีระมิดนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก และเป็นหนึ่งเดียว ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณ ที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน



เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยของฟาโรห์คูฟู มหาพีระมิด มีความสูงถึง 147 เมตร (481 ฟุต หรือประมาณเท่ากับอาคารสูง 40 ชั้น เมื่อคิดความสูงที่ชั้นละ 3.5 เมตร) นับจากก่อสร้างแล้วเสร็จ พีระมิดคูฟูนับเป็นสิ่งก่อสร้างสูงที่สุดในโลก เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานถึง 43 ศตวรรษ จนกระทั่ง มีการก่อสร้าง มหาวิหารลินคอล์น (Lincoln Cathedral) ที่ ประเทศอังกฤษ ซึ่งมียอดวิหารสูง 160 เมตร ในปี พ.ศ. 1843 (ค.ศ. 1300) ซึ่งต่อมายอดวิหารนี้ถูกพายุทำลายในปีพ.ศ. 2092 (ค.ศ. 1549) แต่ขณะนั้นส่วนยอดพีรามิดคูฟูก็สึกกร่อนลงจนมีความสูงไม่ถึง 140 เมตร ทำให้ วิหารเซนต์โอลาฟ (St. Olav's Church) ในประเทศเอสโตเนีย ซึ่งเพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2062 (ค.ศ. 1519) กลายเป็นสิ่งก่อสร้างสูงที่สุดในโลกด้วยความสูงของยอดวิหาร 159 เมตร ปัจจุบันมหาพีระมิดมีความสูง ประมาณ 137 เมตร ซึ่งต่ำกว่าเมื่อแรกสร้างประมาณ 10 เมตร และรัฐบาลอียิปต์ได้ดำเนินการติดตั้ง โครงโลหะเพื่อแสดงถึงความสูงที่แท้จริง ขณะก่อสร้างแล้วเสร็จ ไว้ที่ส่วนยอดของ มหาพีระมิดคูฟู
รูปทรงของพีระมิดมีลักษณะเฉพาะตัว ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ประกอบด้วยด้านสามเหลี่ยม 4 ด้าน ยอดสามเหลี่ยมแต่ละด้าน เอียงเข้าบรรจบกัน เป็นยอดแหลม ฐานทั้ง 4 ด้านของพีระมิด กว้างด้านละประมาณ 230 เมตร (756 ฟุต กว้างกว่า สนามฟุตบอล ต่อกัน 2 สนาม) คิดเป็นพื้นที่ฐานประมาณ 53,000 ตารางเมตรหรือประมาณ 33 ไร่ ฐานล่างสุดของพีระมิด ก่อขึ้นบนชั้นหินแข็ง ซึ่งอยู่ลึกลงไปใต้ชั้นทราย เพื่อป้องกันปัญหา การทรุดตัวของชั้นทราย ซึ่งจะมีผล กับความคงทนแข็งแรง ของโครงสร้างพีระมิด ผิวหน้าแต่ละด้านของ พีระมิดคูฟู ทำมุมเอียงประมาณ 52 องศา ซึ่งมีส่วนทำให้พีระมิด คงทนต่อการสึกกร่อน อันเนื่องมาจากพายุทราย
ตามที่มีข้อมูลปรากฏในแหล่งต่างๆ อ้างถึง จำนวนหิน ที่นำมาก่อสร้าง พีระมิดคูฟู ต่างกันไปตั้งแต่ 2 ล้านถึง 2.6 ล้านก้อน ประมาณน้ำหนักเฉลี่ยก้อนละ 2.5 ตัน โดยจัดเรียงซ้อนกันขึ้นไปประมาณ 200 ชั้น คิดเป็นน้ำหนักรวมกว่า 6 ล้านตัน
สิ่งที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งคือด้านทั้ง 4 ของพีระมิดหันออกในแนวทิศ เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก ถูกต้องแม่นยำตามทิศจริงไม่ใช่ตามทิศเหนือแม่เหล็ก จึงไม่ใช่การกำหนดทิศด้วยเข็มทิศ ตำแหน่งของพีระมิดนั้น คลาดเคลื่อนจากทิศเหนือเพียง 3 ลิปดา 6 ฟิลิปดา แสดงถึงความสามารถของ ชาวอียิปต์โบราณ ในการประยุกต์ความรู้ทางดาราศาสตร์ มาใช้ในการกำหนดทิศทางได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้คนงานก่อสร้างพีระมิดคูฟูยังสามารถทำงานได้อย่างเที่ยงตรงน่าทึ่ง โดยหินตรงส่วนฐานของพีระมิดจัดวางได้เสมอกัน มีความคลาดเคลื่อน เพียงไม่ถึง 2.5 เซนติเมตร และแต่ละด้านของฐานพีระมิด มีความกว้างคลาดเคลื่อนจากกัน เพียงไม่เกิน 8 นิ้ว หรือคิดเป็นเพียง 0.09 % ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับขนาดงานก่อสร้าง และระดับเทคโนโลยีในขณะนั้น

วิธีการสร้างมหาพีระมิดแห่งกิซ่า


วิธีการยกแท่งหินขนาดใหญ่หนักหลายสิบตัน เพื่อประกอบขึ้นเป็นพีระมิดอย่างแม่นยำยังเป็นปริศนา โครงสร้างเหนือห้องเก็บโลงพระศพ ในพีระมิดคีออปส์ ประกอบขึ้นด้วย แท่งหินแกรนิตสีแดงขนาดใหญ่หลายสิบแท่งซ้อนทับกัน 5 ชั้น แต่ละแท่งมีน้ำหนัก 50 ถึง 70 เมตริกตัน แท่งหินขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบในหมู่พีระมิดกิซ่าอยู่ภายในวิหารข้างพีระมิดเมนคีเรเป็นแท่งหินปูนที่มีน้ำหนักมากถึง 200 เมตริกตัน เป็นน้ำหนักประมาณเท่ากับชิ้นส่วนหนักที่สุดภายในเรือไททานิค ซึ่งไม่มีปั้นจั่นใดๆ ในอู่ต่อเรือขณะนั้นสามารถยกได้ จนผู้สร้างเรือต้องว่าจ้างทีมงาน ชาวเยอรมัน มาสร้างปั้นจั่นยักษ์สำหรับยกชิ้นส่วนดังกล่าว
เฮโรโดตุส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ซึ่งเดินทางไปอียิปต์ช่วง 450 ปีก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 2 พันปีเศษหลังจากพีระมิดสร้างเสร็จ ได้บันทึกคำบอกเล่าของนักบวชชาวอียิปต์โบราณไว้ว่า ในการสร้างพีระมิดชาวอียิปต์โบราณมีอุปกรณ์บางอย่างทำด้วยไม้ใช้สำหรับยกหินขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามไม่พบหลักฐานอื่นๆ ที่อ้างอิงถึงเครื่องมือนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด หรือบันทึกโบราณ เฮโรโดตัสยังได้บันทึกไว้ว่าการก่อสร้าง พีระมิดคูฟู ทำเฉพาะช่วงฤดูน้ำหลากซึ่งประชากรว่างจากการเพาะปลูก นั่นคือ ประมาณปีละ 3 - 4 เดือน และก่อสร้างอยู่ 20 ปี จึงแล้วเสร็จ
เนื่องจากเทคโนโลยีในขณะนั้นยังไม่มีระบบปั้นจั่นไม่รู้จักแม้กระทั่งล้อเลื่อน และไม่มีหลักฐานการใช้พาหนะที่ลากด้วยแรงสัตว์ การเคลื่อนย้ายหินจึงใช้แรงงานคนลากเข็นไปบนแคร่ไม้ โดยมีการราดน้ำเพื่อช่วยลดแรงเสียดทาน การเคลื่อนย้ายวัตถุน้ำหนักมากๆ ด้วยวิธีนี้มีหลักฐานเป็นภาพแกะสลักนูนต่ำบนฝาผนังหิน ซึ่งแสดงการเคลื่อนย้ายเทวรูปหินขนาดใหญ่ด้วยแรงคนนับร้อย
วิธีการลำเลียงหินขึ้นสู่บริเวณก่อสร้างในระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างการก่อสร้างคืออีกส่วนหนึ่งที่เป็นปริศนา แนวคิดแรกเริ่มเชื่อกันว่าชาวอียิปต์โบราณใช้วิธีสร้างทางลาดบริเวณด้านข้างของพีระมิด และชักลากหินขึ้นตามทางลาดที่ก่อสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความสูงของระดับการก่อสร้างจนถึงจุดสูงสุดยอด และเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จจึงทำการรื้อทางลาดดังกล่าวออกคงเหลือไว้แต่ พีระมิด ที่สร้างเสร็จ ถ้าแนวคิดนี้เป็นจริงสิ่งก่อสร้างใหญ่ที่สุดในโลกยุคนั้นอาจไม่ใช่พีระมิดคูฟู แต่อาจเป็นทางลาดสูงเท่าตึก 40 ชั้นที่ใช้ก่อสร้างพีระมิดแทน มีแนวคิดอื่นๆ เสนอว่าทางลาดดังกล่าวอาจไม่ได้สร้างอยู่ด้านใดด้านหนึ่งข้างพีระมิด แต่อาจสร้างเป็นทางวนรอบพีระมิดแทน หรืออาจบางทีแต่ละชั้นของพีระมิดนั่นเองคือทางที่ใช้ชักลากหินขึ้นสู่ชั้นถัดไป ผ่านทางลาดขนาดเล็กที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างแต่ละชั้น
แม้จะยังไม่มีข้อสรุปถึงวิธีการลำเลียงหินขึ้นสู่บริเวณก่อสร้าง แต่การประกอบหินแต่ละก้อนสามารถสรุปได้ว่าผ่านการตัดแต่งแบบก้อนต่อก้อน เนื่องจากแต่ละก้อนต้องมีขนาดและแง่มุมพอดีกับหินก้อนอื่นๆที่จัดเรียงไว้ก่อนหน้า เพราะในการก่อสร้างพีระมิดไม่มีการใช้วัสดุเชื่อมประสาน หินแต่ละก้อนวางซ้อนกันอยู่ได้ด้วยน้ำหนักกดทับด้านบน และระนาบที่เท่ากันในแต่ละชั้นจึงต้องตัดแต่งอย่างปราณีตแบบก้อนต่อก้อนก่อนประกอบเข้าสู่ตำแหน่ง
ด้วยเครื่องมือง่ายๆ อย่างไม้วัดระดับแนวราบ และสายดิ่งที่ใช้ตรวจสอบผิวหน้าหินในแนวตั้ง โดยใช้ลิ่มหินควอตซ์ (Quartz) ซึ่งเป็นหินอัคนีความแข็งสูงในการขัดแต่งผิวหน้าของหินแต่ละด้านให้เรียบ ช่างหินอียิปต์โบราณสามารถสร้างผลงานดีเยี่ยม จนผิวสัมผัสระหว่างหินแต่ละก้อนห่างกันเพียง 0.02 นิ้วเท่านั้น
ควรทราบอีกว่า ณ เวลานั้นโลกยังไม่เข้าสู่ ยุคเหล็ก โดยที่เทคโนโลยีการตีเหล็กยังไม่ถูกพัฒนาขึ้นจนกว่าอีก 1 พันปีต่อมา เครื่องมือโลหะที่มีใช้ในสมัยนั้นทำด้วย ทองแดง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายหากต้องการตัดหินปูนและหินแกรนิตให้ได้ขนาดและรูปทรงตามต้องการ ผู้ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยียุคโบราณเชื่อว่า ช่างอียิปต์โบราณใช้ แท่งโลหะพันด้วยเชือก เพื่อหมุนปั่นแท่งโลหะเจาะรูลึกในก้อนหินโดยมีการโรยผงทรายลงในรูที่เจาะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือ


วัตถุดิบที่ใช้ในการสร้างพีระมิดแห่งกิซ่า


แหล่งหินที่นำมาสร้างพีระมิด ไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อสร้างแต่ต้องขนส่งจากเหมืองหินที่อยู่ห่างไกลนับร้อยไมล์ มาตาม แม่น้ำไนล์ แล้วขนส่งทางบกต่อไปอีกจนถึงบริเวณก่อสร้างซึ่งห่างจากริมฝั่งแม่น้ำไนล์ประมาณ 22 กิโลเมตร หินปูนซึ่งเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างส่วนใหญ่อยู่ทางใต้ห่างไปกว่า 200 กิโลเมตร เรียงรายตามแนวฝั่งแม่น้ำไนล์ เหมืองหินปูนใกล้ที่สุดอยู่บริเวณเมืองตูราห่างจากกรุงไคโรไปทางใต้ประมาณ 50 กิโลเมตร ส่วนหินแกรนิตที่ใช้สร้างห้องเก็บพระศพ และโลงพระศพ อยู่บริเวณตอนเหนือของเขื่อนอัสวานในปัจจุบัน ซึ่งห่างจากบริเวณก่อสร้างไปทางใต้กว่า 900 กิโลเมตร การขนย้ายหินจากระยะทางไกลขนาดนั้นต้องใช้พาหนะขนาดใหญ่ล่องตามแม่น้ำไนล์เป็นแรมเดือน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศไทยจะประมาณเท่ากับการล่องเรือจากเชียงรายลงมาถึงกรุงเทพฯ
การลำเลียงหินขึ้นลงจะใช้แคร่เลื่อนไม้และอาจใช้จังหวะที่มีน้ำท่วมเข้าถึงบริเวณเหมืองและพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อเพิ่มความสะดวกในการขนย้ายหิน มีข้อสังเกตว่าพาหนะที่ใช้บรรทุกหินจะต้องสามารถรับน้ำหนักได้มากถึงหลายสิบตัน จึงจะสามารถขนแท่งหินแกรนิตขนาดใหญ่ที่ใช้ในการก่อสร้าง พาหนะดังกล่าวอาจมีลักษณะคล้ายเรือใหญ่ ซึ่งมีคานให้เรือขนาดเล็กกว่าหลายๆ ลำช่วยกันพยุงรับน้ำหนักอยู่ด้านล่าง เมื่อเปรียบเทียบกับเรือขุดขนาดใหญ่ของไทยขนาด 45-55 ฝีพายซึ่งยาวร่วม 30 เมตร ยังสามารถรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 10 เมตริกตันต่อลำ พาหนะที่ชาวอียิปต์โบราณใช้ขนส่งหินหนักถึง 70 เมตริกตันจะต้องรับน้ำหนักได้มากกว่าเรือขุดขนาดใหญ่ของไทยหลายเท่า มีการขุดพบเรือโบราณขนาดใหญ่สร้างด้วยไม้ในบริเวณเดียวกับ พีระมิดคูฟู ที่เป็นหลักฐานว่าชาวอียิปต์โบราณมีความสามารถในการต่อเรือขนาดใหญ่ได้ดี

แรงงานในการสร้างมหาพีระมิดแห่งกิซ่า

หากประมาณจำนวนแรงงานที่ใช้ก่อสร้างพีระมิด จากจำนวนหินที่ใช้ก่อสร้าง 2,500,000 ก้อนหารด้วยระยะเวลาก่อสร้าง ปีละ 3-4 เดือนในฤดูน้ำหลาก รวม 20 ปี จะพบว่าต้องก่อสร้างให้ได้ประมาณ 1,000 ถึง 1,400 ก้อนต่อวัน หากต้องสกัดหินจากเหมืองหินให้ได้ขั้นต่ำวันละ 1,000 ก้อน และต้องมีแรงงานขนหินออกจากเหมืองมายังแม่น้ำ แรงงานสำหรับควบคุมการขนส่งมายังพื้นที่ก่อสร้าง และแรงงานสำหรับยกหินขึ้นฝั่งที่ปลายทาง ถ้าทั้งหมดนี้ใช้คนทั้งสิ้นประมาณ 10 คนต่อหิน 1 ก้อนจะต้องมีแรงงานในส่วนนี้ไม่ต่ำกว่า 10,000 คน
นอกจากนี้ในบริเวณก่อสร้างยังต้องมีแรงงานสำหรับขนย้ายหินขึ้นสู่บริเวณก่อสร้างบนพีระมิด ผู้เขียนคิดเองว่าน่าจะเป็นแรงงานคนละชุด กับที่ขนย้ายหินมาจากแม่น้ำ และน่าจะต้องใช้คนมากว่า 8 คนต่อหิน 1 ก้อนเนื่องจากเป็นการขนย้ายหินขึ้นสู่ที่สูง ยิ่งการก่อสร้างดำเนินไประดับของพื้นที่ก่อสร้างก็จะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ และยังไม่รวมช่างฝีมือในบริเวณก่อสร้างแต่ละชั้นซึ่งต้องตัดแต่งหินให้ได้ระดับแง่มุมที่ถูกต้องแบบก้อนต่อก้อน เชื่อว่าแรงงานขนย้ายหินรวมกับแรงงานประกอบหิน น่าจะไม่ต่ำกว่า 3-4 หมื่นคนในระหว่างการก่อสร้างแต่ละปี และเป็นไปได้ว่าแรงงานที่หมุนเวียนกันมาก่อสร้างตลอด 20 ปีจะมีถึงกว่า 100,000 คน
มีเรื่องน่าสังเกตอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับความเชื่อแต่เดิมที่ว่า พีระมิด ก่อสร้างขึ้นด้วยแรงงานทาส โดยมีการบังคับกดขี่ทาสอย่างทารุณ ทั้งหมดเป็นเพียงจินตนาการในวงการบันเทิง เมื่อหลักฐานที่พบในเวลาต่อมาบ่งชี้ว่า แรงงานที่มาก่อสร้างพีระมิดเป็นชาวอียิปต์ที่ทำงานด้วยความสมัครใจในระหว่างว่างเว้นจากงานเกษตรกรรม โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นอาหาร เช่น หัวไชเท้าและกระเทียม และในกรณีที่ทำงานได้มากจะมีการจดบัญชีเพื่อจ่ายค่าตอบแทนให้ในรูปแบบอื่นๆ อีกด้วย ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งจากหลักฐานที่พบใหม่ๆ คือแรงงานที่มาก่อสร้างมีการจัดตั้งกันแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามลำดับชั้น และมีการกำหนดหน้าที่ให้กับแต่ละกลุ่ม คล้ายกับโครงงานก่อสร้างขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งสำหรับเมื่อ 4,600 ปีก่อนนับว่าชาวอียิปต์มีความล้ำหน้าอารยธรรมอื่นๆ ในยุคเดียวกันมาก

กำแพงเมืองจีน

กำแพงเมืองจีน   ตอนซุ้มประตูปาต๋าหลิ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือ ของปักกิ่ง ออกไป ๗๕ กิโลเมตร  กำแพงเมืองจีน ถูกถือว่า เป็น 1ใน สิ่งอันมหัศจรรย์ของโลกมีระยะทางยาวกว่า7000กิโลเมตรเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและใช้เวลาสร้างนานที่สุดในโลก                                                            กำแพงเมืองจีน เริ่มขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 ก่อน ค.ศ.เพื่อป้องกันการรุกรานของชนชาติส่วนน้อยในภาคเหนือ ถึงปี 221 ก่อนค.ศ. จักรพรรดิจิ๋นซี ได้เชื่อม กำแพงเมืองในแคว้นต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อป้องกันการรุกรานจากชนชาติ ส่วนน้อยบนทุ่งหญ้าอันไพศาลในมองโกเลีย กำแพงเมืองจีน ในสมัยนั้นมีระยะทาง
ยาวกว่า5000กิโลเมตรหลังจากนั้นผู้ปกครองของจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้สร้างกำแพงเมืองจีนต่อจนมีระยะทางยาวกว่า10000กิโลเมตร ในช่วงระยะเวลากว่า 2000 ปี ผู้ปกครองของจีนในสมัยต่าง ๆ ต่างก็เคยสร้างกำแพงเมืองไม่มากก็น้อยรวมๆแล้วมีระยะทางยาวกว่า 50000กิโลเมตรซึ่งสามารถล้อมโลกกว่า1รอบโดยทั่วไปแล้ว  
กำแพงเมืองจีน ในปัจจุบันหมายถึง กำแพงเมืองจีน สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-ค.ศ.1644)      ระหว่างด่านเจียอี้กวนในมณฑลกันซู่ทางภาคตะวันตกถึงริมฝั่งแม่น้ำยาลู่ ในข้างนอกของกำแพงเมืองจีน 
ก่อด้วยอิฐก้อนใหญ่และแท่นหินข้างในถมด้วยดินเหลืองและเศษหิน ความสูงประมาณ 10 เมตร สัน กำแพงเมืองจีน กว้าง 4 ถึง 5 เมตร ให้ม้า ตัวไปพร้อมกันได้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย
ทหารขนส่งอาหารและอาวุธยามศึกด้านในของกำแพงเมืองมีประตู ที่ทำบันไดหินไว้เพื่อการขึ้นลงได้สะดวกมากทั้งได้สร้างป้อมและจุดไฟสัญญาณแจ้งเหตุเป็นช่วงๆ ป้อมเป็นที่เก็บอาวุธอาหารและที่พัก
ของทหารยามศึกก็จะใช้เป็นที่กำบังได้ถ้ามีศัตรูรุกเข้ามาก็จะจุดไฟสัญญาณให้มีควันขึ้นบนป้อมแจ้งเหตุเพื่อส่งข่าวไปยังทั่วประเทศทันที  
กำแพงเมืองจีน มีความหมายทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและคุณค่าทางการท่องเที่ยวอย่างสูงผู้คนในจีนซึ่งรวมทั้งนักท่องเที่ยว ทั้งจีนและเทศ แม้กระทั่งผู้นำต่างประเทศด้วย มักจะกล่าวกันว่า ถ้าไม่ขึ้น กำแพงเมืองจีน ก็ไม่ใช่ผู้กล้า
ปัจจุบัน กำแพงเมืองจีน  ไม่มีสมรรถนะที่เป็นจริงในการใช้เป็นป้อมศึกอีกแล้วแต่ก็ยังเป็นสิ่งที่น่าทึ่งในฐานะสถาปัตยกรรมอันสง่างามอย่างหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษเมื่อปี 1987 กำแพงเมืองจีน ได้รับการคัดเลือกให้จัดเข้าสู่รายชื่อมรดกโลกในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของประชาชาติจีน


กำแพงเมืองจีน