วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554



พระราชวังแวร์ซาย


พระราชวังแวร์ซาย



พระราชวังแวร์ซายส์
พระราชวังแวร์ซายส์
พระราชวังแวร์ซายส์พระราชวังแวร์ซายส์
พระราชวังแวร์ซายส์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
 
พระราชวังแวร์ซายส์ (ภาษาฝรั่งเศส: Château de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่เมืองแวร์ซายส์ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปารีส ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมหานครปารีส พระราชวังแวร์ซายส์เป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบันด้วย

ประวัติ

เดิมนั้น เมืองแวร์ซายส์เป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเท่านั้น มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง บริเวณส่วนใหญ่เป็นป่าเขา เยี่ยงชนบทอื่น ๆ ของฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ยังทรงพระเยาว์ ขณะพระชนมายุได้ 23 พระชันษา ทรงนิยมล่าสัตว์ในป่า และทรงเห็นว่าตำบลแวร์ซายส์น่าจะเหมาะแก่การประทับเพื่อล่าสัตว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาใน พ.ศ. 2167 โดยในช่วงแรกเป็นเพียงกระท่อมเล็กๆ สำหรับพักชั่วคราวเท่านั้น

เมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ขึ้นครองบัลลังก์ มีประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระองค์ จึงเริ่มปรับปรุงพระตำหนักเดิมในปี พ.ศ. 2204 ใช้เงินทั้งหมด 500,000,000 ฟรังก์ คนงาน 30,000 คน และใช้เวลาอยู่ถึง 30 ปีจึงแล้วเสร็จในพ.ศ. 2231 ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามมาก ภาย ในแบ่งออกเป็นห้องๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ฯลฯ ทุกห้องล้วนมีเครื่องประดับงดงามตระการตาและภาพเขียนที่มีชื่อเสียง ภายในพระราชวังมีภาพวาด ภาพแกะสลักซึ่งแสดงให้เห็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสหลายสมัยสถานที่แห่งนี้เคยใช้เป็นที่เซ็นสัญญาสงบศึกกับอเมริกาในปี ค.ศ 1783 แวร์ซายส์ นับเป็นส่วนหนึ่งของแรงผลักดันที่ก่อให้เกิด
การปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1789 ต่อมาในปี ค.ศ. 1815 พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ได้เปลี่ยนสภาพพระราชวังแห่งนี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ และใช้เป็นสถานที่ลงนามในสัญญาสงบศึกสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรกับเยอรมัน เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1919

นอกจากเครื่องประดับที่เก่าแก่ และสูงค่าแล้ว การจัดสวนก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่างดงามยิ่งนัก เพราะมีการตกแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้หลากสีสวยงามมาก โดยเฉพาะตอนฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ส่วนที่เป็นป่าสำหรับล่าสัตว์ปัจจุบันใช้เป็นที่ๆให้ผู้เข้าชมไปเดินเล่น พักผ่อน และมีม้าหินให้นั่งเล่นเป็นระยะๆ

การก่อสร้างพระราชวังแวร์ซายส์แห่งนี้ได้นำเงินมาจากค่าภาษีอากรของราษฎร ชาวฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้มีกองทัพประชาชนบุกเข้ายึดพระราชวังและจับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับพระนางมารี อองตัวเนต ประหารด้วย "กิโยติน" ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2332 ปัจจุบันพระราชวังแวร์ซายส์ ได้กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์และเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแก่ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมความสวยงาม หากนับเวลาตั้งแต่ก่อสร้างเสร็จ พระราชวังแห่งนี้ก็มีอายุยืนนานถึง 300 ปีเศษ ที่ยังคงความงามอยู่ได้โดยไม่เสื่อมคลาย

พระราชวังแวร์ซายส์ได้รับจดทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2522 ที่ประเทศอียิปต์

ฮาเยียโซเฟีย



พิพิธภัณฑ์อะยาโซเฟียในปัจจุบัน

โครงสร้างโบสถ์
ฮาเยียโซเฟีย หรือ ฮาเจียโซเฟีย (ภาษาตุรกี: Ayasofya, ภาษาละติน: Sancta Sapientia, ภาษากรีก: Ἁγία Σοφία) หรือชื่อในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์อะยาโซเฟีย (Ayasofya Museum) เดิมเคยเป็นโบสถ์ของคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกส์ ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นสุเหร่า ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและมักถูกจัดให้อยู่ในรายการสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง จุดเด่นอยู่ที่ยอดโดมขนาดมหึมากลางวิหาร และนับเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ ฮาเจียโซเฟียเคยเป็นโบสถ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมานานเกือบพันปี จนกระทั่งโบสถ์เซบียาสร้างเสร็จในปี 1520
สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันถูกสร้างให้เป็นโบสถ์ในระหว่างปี ค.ศ. 532-537 โดยจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ และเป็นโบสถ์หลังที่สามถูกสร้างขึ้นในสถานที่เดียวกันนี้ (โบสถ์สองหลังแรกถูกทำลายในระหว่างการจลาจล) โบสถ์นี้เป็นศูนย์กลางของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ เป็นเวลาเกือบ 1,000 ปี
ในปี 1453 หลังจากที่จักรวรรดิออตโตมันพิชิตจักรวรรดิไบแซนไทน์ สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 จึงดัดแปลงโบสถ์ให้กลายเป็นสุเหร่า เช่นย้ายระฆัง แท่นบูชา รูปปั้นต่าง ๆ ออก และสร้างสัญลักษณ์ทางอิสลาม เช่นเสามินาเรต แทน สุเหร่าโซเฟียเป็นสุเหร่าหลักของอิสตันบูลมากว่า 500 ปี และเป็นต้นแบบของสุเหร่าออตโตมันอีกหลายแห่ง เช่นสุเหร่าสุลต่านอาเหม็ด (สุเหร่าสีน้ำเงิน), สุเหร่าเซห์ซาเด, สุเหร่าซือเลย์มานิเย และสุเหร่ารืสเตม ปาชา ในปี 1935 ฮาเจียโซเฟียก็ถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์โดยสาธารณรัฐตุรกีจนถึงปัจจุบัน
อีกชื่อหนึ่งของ ฮาเจียโซเฟีย คือเซนต์โซเฟีย ซึ่งมาจากชื่อเต็มในภาษากรีก "Ναός τῆς Ἁγίας τοῦ Θεοῦ Σοφίας" แปลว่า โบสถ์แห่งปัญญาอันศักดิ์สิทธิ์ โดยคำว่า "โซเฟีย" มาจากภาษาละติน ที่เปลี่ยนมาจากคำในภาษากรีกที่แปลว่า "ปัญญา" อีกทีหนึ่ง จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับเซนต์ที่ชื่อโซเฟียแต่อย่างใด

ประวัติศาสตร์


โบสถ์หลังแรก


หินรูปแกะที่คงเหลืออยู่จากโบสถ์ซึ่งสร้างโดยจักรพรรดิธีโอโดซีอุสที่ 2
โบสถ์หลังแรกที่ถูกสร้างขึ้นมีชื่อว่า "Megálē Ekklēsíā" ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกใช้ต่อมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ฮาเจียโซเฟีย" หลังถูกไบแซนทิอุมยึดครองในปี 1453
เหตุการณ์เกี่ยวกับโบสถ์แห่งนี้ถูกบันทึกโดยโสกราตีสแห่งคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 380-440) ผู้ซึ่งบันทึกไว้ว่าโบสถ์ฮาเจียโซเฟียถูกสร้างโดยคอนสแตนตินมหาราช โบสถ์ถูกสร้างขึ้นติดกับบริเวณที่กำลังสร้างพระราชวัง และติดกับโบสถ์ฮาเจีย ไอรีนซึ่งมีขนาดเล็กกว่า แต่ถูกใช้เป็นโบสถ์หลักจนกระทั่งฮาเจียโซเฟียสร้างเสร็จ จักรพรรดิคอนสแตนติอุสที่ 2 เปิดฮาเจียโซเฟียในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 360 โบสถ์ทั้งสองกลายเป็นโบสถ์ที่สำคัญของจักรวรรดิไบแซนไทน์
โบสถ์หลังแรกถูกเผาทำลายไปในเหตุการณ์จลาจลในปี 404 จนไม่หลงเหลืออะไรให้เห็นในปัจจุบัน


โบสถ์หลังที่สอง


หินอ่อนจากโบสถ์หลังที่สอง
โบสถ์หลังที่สองสร้างขึ้นโดยจักรพรรดิธีโอโดซิอุสที่ 2 และถูกเปิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 405 โบสถ์หลังที่สองถูกไฟไหม้ที่เกิดขึ้นระหว่างการจลาจลนิกา (Nika riots) ในวันที่ 13-14 มกราคม ค.ศ. 532
หินอ่อนบางส่วนจากโบสถ์หลังที่สองยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน และถูกแสดงไว้ในสวนของโบสถ์ปัจจุบัน (หลังที่สาม) หินอ่อนเหล่านี้เดิมเป็นส่วนหนึ่งของทางเข้าด้านหน้าซึ่งถูกขุดพบในปี 1935


โบสถ์หลังที่สาม

ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 532 หลังจากที่โบสถ์หลังที่สองถูกทำลายไปไม่นาน จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ตัดสินใจให้สร้างโบสถ์หลังที่สามให้ยิ่งใหญ่และสวยงามกว่าโบสถ์หลังก่อน ๆ จักรพรรดิจัสติเนียนเลือกให้นักฟิสิกส์ อิสิโดโรสแห่งมิเลตุส และนักคณิตศาสตร์ แอนเทมิอุสแห่งทราเรสเป็นสถาปนิก แต่แอนเทมิอุสเสียชีวิตลงในปีแรก มีการนำวัสดุก่อสร้างมาจากทั่วทั้งอาณาจักร เช่น เสาแบบเฮเลนิสติกจากวิหารอาร์ทีมิส เมืองเอเฟซุส หินขนาดใหญ่ถูกนำมาจากเหมืองหินที่อยู่ไกลออกไป เช่น หินเนื้อดอกจากอียิปต์ หินอ่อนเขียวจากแคว้นเทสซาลี หินดำจากแถบบอสฟอรัส และหินเหลืองจากซีเรีย ในการก่อสร้างใช้แรงงานมากกว่าหมื่นคน จักรพรรดิและสังฆราชยูติชิอุสทำการเปิดโบสถ์ใหม่ในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 537 แต่การตกแต่งภายในโบสถ์ด้วยโมเสกนั้นต่อเนื่องจนถึงสมัยจักรพรรดิจัสตินที่ 2
แผ่นดินไหวในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 553 และวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 557 ทำให้เกิดรอยแตกในโดมหลักและโดมทางตะวันออก โดมหลักพังลงมาทั้งหมดเพราะแผ่นดินไหวในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 558 จักรพรรดิจัสติเนียนจึงสั่งให้ทำการซ่อมแซมในทันที โดยมอบหมายให้อิโสโดรุสซึ่งเป็นหลานของอิสิโดโรสแห่งมิเลตุส ในการซ่อมแซมครั้งนี้ใช้วัสดุก่อสร้างที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเดิมและยกให้โดมสูงขึ้นอีก 6.25 เมตร ทำให้อาคารมีความสูงเท่ากับปัจจุบันคือ 55.6 เมตร การซ่อมแซมครั้งนี้เสร็จในปี 562
ในปี 726 จักรพรรดิลีโอที่ 3 ออกกฎต่าง ๆ ที่ต่อต้านการบูชารูปเคารพ และสั่งให้กองทัพทำลายรูปเคารพทั้งหมด ภาพและรูปปั้นทางศาสนาจึงถูกย้ายออกจากฮาเจียโซเฟียทั้งหมด ในสมัยของจักรพรรดินีไอรีน (797-802) มีคำสั่งให้หยุดการทำลายไประยะหนึ่ง แต่หลังจากนั้นลัทธิทำลายรูปเคารพก็กลับมาอีกครั้ง จักรพรรดิทีโอฟิลุส (829-842) ได้รับอิทธิพลจากศิลปะศาสนาอิสลามซึ่งต่อต้านรูปเคารพเป็นอย่างมาก เขาสั่งให้ติดอักษรสัญลักษณ์ของเขาไว้ที่ประตูทางทิศใต้
ตัวโบสถ์ถูกทำลายอย่างหนักด้วยไฟไหม้ในปี 859 และแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 8 มกราคม 869 ซึ่งทำให้โดมเล็กหักไปข้างหนึ่ง จักรพรรดิบาซิลที่ 1 มีคำสั่งให้ซ่อมแซมโบสถ์ หลังจากนั้นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 989 ซึ่งทำให้โดมใหญ่เสียหาย จักรพรรดิบาซิลที่ 2 แห่งไบแซนไทน์จึงสั่งให้สถาปนิกชาวอาร์เมเนีย ทริแดท ซึ่งสร้างโบสถ์แห่งอานี เป็นผู้ซ่อมโดม ทริแดทซ่อมส่วนอาร์ชด้านตะวันตกและส่วนหนึ่งของโดม ความเสียหายอย่างหนักของโบสถ์ทำให้การซ่อมแซมต้องใช้เวลานานถึง 6 ปี โบสถ์ถูกเปิดขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 994


สโตนเฮนจ์


กลุ่มหินประหลาด สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge ) 

        สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) เป็นกลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางทุ่งราบว้างใหญ่ในบริเวณที่เรียกว่า ที่ราบซัลลิสเบอร์รี่ ในบริเวณตอนใต้ของอังกฤษ ประกอบไปด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ 112 ก้อน ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง แท่งหินบางอันตั้งขึ้น บางอันอยู่ในแนวนอน และบางอันก็ถูกวางซ้อนขึ้นไปข้างบน

กลุ่มหินประหลาด สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge )


        สโตนเฮนจ์มีชื่อเสียงอย่างมากในฐานะที่เป็นกลุ่มหินประหลาดซึ่งไม่มีใครทราบวัตถุประสงค์ในการสร้างอย่างชัดเจน และเมื่อพิจารณาถึงอายุของมันแล้ว คาดว่ากลุ่มกองหินประหลาดนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ต่างสงสัยว่า คนในสมัยก่อนสามารถยกแท่งหินที่มีน้ำหนักกว่า 30 ตัน ขึ้นไปวางเรียงกันได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ปราศจากเครื่องทุ่นแรงอย่างที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน และที่น่าแปลกไปกว่านั้นคือ ในบริเวณที่ราบดังกล่าว ไม่ใช่บริเวณที่จะมีก้อนหินขนาดมหึมานี้ ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าผู้สร้างต้องทำการชักลากแท่งหินยักษ์ทั้งหมด มาจากที่อื่น ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากบริเวณที่เรียกว่า "ทุ่งมาล์โบโร" ที่อยู่ไกลออกไปประมาณ 40 กิโลเมตรเลยทีเดียว

        การก่อสร้างสโตนเฮนจจ์นั้นทำสืบเนื่องกันมาถึง 3-4 ระยะในช่วงเวลาประมาณ 1,500 ปี จากยุคหินตอนปลายจนถึงยุคสำริดตอนต้นแต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1,800-1,400 ปีก่อนคริสต์กาล ซากปรักหักพังที่หลงเหลืออยู่เป็นเพียงเงาของอีตาลอันรุ่นโรจน์ แนวหินกว่าครึ่งได้หักลงบ้าง หายไปบ้าง บางส่วนก็ทับถมกันอยู่ใต้ดิน การก่อสร้างเริ่มขึ้นในราว 2,8000 ปีก่อนคริสต์กาล (ผู้เชี่ยวชาญบางท่านก็ว่าเมื่อ 3,800 ปี) โดยเริ่มจากการขุดร่องวงกลมขนาดใหญ่ 56 หลุมเรียงเป็นวงกลมภายในวงดินนั้น หลุมเหล่านี้เรียกกันว่า หลุมออบรีย์ ตามชื่อจอห์น ออบรีย์ผู้ค้นพบในคริสต์ศตวรรษ 17 ปัจุบันหลุมดังกล่าวลาดทับด้วยปูบซีเมนต์ แต่หินแท่งแรกซึ่งเรียกกันว่าหินฮีล (Heel Stone) ที่ประจำอยู่ปากทางเข้าวงดินยังคงตั้งอยู่ในตำแหน่งเดิม หลุมซึ่งขุดเรียงกันเป็นวงกลมอีกสองวงถัดเข้าไปเรียกกันว่าหลุม Y และหลุม Z

        วงหลุมทั้งสองนี้คั่นอยู่ระหว่างวงหลุมออบรีย์ที่เป็นวงนอกและวงแท่งหินขนาดมหึมาตรงใจกลางวงดินสันนิษฐานว่าวงหลุม Y และ Z อาจมีความสำคัญในเชิงดาราศาสตร์ ในราว 2,100 ปีก่อนคริสต์กาล มีการนำหินสีน้ำเงิน (bluestone) 80 ก้อนจากแคว้นเวลส์มาเรียงเป็นวงกลมสองวงซ้อนกันแต่ต่อมามีการนำแท่งหินทรายขนาดใหญ่ 30 แท่ง ที่เรียว่าหินซาร์เซน(sarsen) มาเรียงเป็นวงกลมวงเดียวแทนที่วงหินสี่น้ำเงิน

สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge )

        สองวงวงเดิมภายในวงหินทรายมีหมู่ หินเรียงเป็นรูปกึ่ง ๆ รูปเกือกม้าอีกสองหมู่หมู่ที่อยู่ด้านนอกประกอบด้วยหินทรายก่อเป็นรูปไตรลิธอนห้ากลุ่ม(Trilithon คือกลุ่มหินที่ประกอบด้วยหินสามแท่ง สองแท่งตั้งขึ้นคู่กันและแท่งที่สามวางพาดเป็นคานในแนวนอน) ส่วนเกือกม้าด้านในประกอบด้วยหินสีน้ำเงินขัดแต่ง 19แท่งสถาปัตยกรรมนี้เป็นความสำเร็จอันน่าทึ่งเมื่อคิดดูว่าเครื่องมือขุดดินที่ผู้สร้างในยุคหินใหม่ใช้เป็นเพียงเสียมที่ทำจากเขากวางแดงเท่านั้น ชาวแซกซันเป็นผู้ขนาดนามวงหินเหล่านี้ว่า สโตนเฮนจ์ซึ่งเแปลตรงตัวว่า หินที่แขวนอยู่ (Hanging Stone) ส่วนบันทึกจากสมัยกลางตั้งชื่อวงหินนี้อย่างไพเราะว่า กลุ่มยักษ์เริงระบำ (The Giants Dance)

        แม้ว่านักวิชาการส่วนใหญ่จะเห็นพ้องต้องกันว่าสโตนเฮนจ์เป็นสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องลึกลับ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วมันมีไว้เพื่ออะไร มีการเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ นานา เช่น อินิโก โจนส์ สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เชื่อว่าสโตนเฮนจ์เป็นซากปรักหักพังของวิหารโรมัน แต่คนในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19ยืนยันว่าเป็นวิหารซึ่งพวกลัทธิดรูอิดใช้ประกอบพิธีบูชาพระอาทิตย์และบูชายัญมนุษย์ ความคิดนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ เราะสโตนเฮนจ์นั้นสร้างเสร็จอย่างน้อย 1,000 ปีก่อนลัทธิดังกล่าวจะเฟื่องฟู กระทั่งเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เองที่เราเริ่มได้ข้อเท็จจริงบ้าง นักโบราณคดี สามารถคำนวณหาอายุ และสรุปเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการก่อสร้างสโตนเฮนจ์ได้อย่างสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น

 สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge )

        แต่ข้อมูลซึ่งเป็นข้อเท็จจริงก็ยังนับว่าน้อยอยู่มาก หินซาร์เซนที่เรียงเป็นวงด้านนอกแต่ละก้อนสูง 5 ม และหนักประมาณ26 ตัน หินเหล่านี้ชักลากมาจากทุ่งโล่งมาร์ลโบโร ดาวน์ส (Marlborough Downs)ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 32 กม. แล้วนำมาขัดแต่งและประดิษฐ์ให้มีสลักและเดือยอย่างดี ทำหใแท่งหินคู่ที่ตั้งและคานหินที่ใช้พาดเกาะเกี่ยวกันอย่างมั่นคง ส่วนหินสีน้ำเงินก้อนใหญ่ที่สุดซึ่งหนักถึงสี่ตันนำมาจากภูเขาพรีเซลีทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นเวลส์นั้น สันนิษฐานว่าใช้แพลำเลียงล่องมาตามชายฝั่งเวลส์และแม่น้ำเอวอน แล้วชักลากต่อมาทางบก นักโบราณคดีส่วนใหญ่เชื่อว่า สโตนเฮนจ์เป็นสถานที่ประกอบพิธีฝั่งศพ โดยพิจารณาจากหลักฐานว่านอกเหนือจากสโตนเฮนจ์แล้ว มีการสร้างสุสานมูนดินในหลุมออบรีย์หลายหลุม แต่ก็มีหลักฐานหักล้างว่าหลุมดังกล่าวขุดขึ้นนานก่อนที่จะมีการเผาศพในบริเวณนี้ บ้างก็สันนิษฐานว่าหลุมออบรีย์อาจใช้เป็นส่วนหนึ่งใน พิธีไหว้ด้วยสุรา เช่น ชาวนาอาจเทเหล้าองุ่นลงในหลุมเพื่อบวงสรวงเทพเจ้าเปห่งธรรมชาติทั้งหลาย

        วงหินสโตนเฮนจ์ก็อาจจะเป็นวิหารสำหรับทำพิธีบวงสรวงดังกล่าว ไม่นานมานี้ มีนักดาราศาสตร์คนหนึ่งได้อ้างว่าสามารถถอดรหัสแนวหินได้เขาเสนอว่าสโตนเฮนจจ์ คือ เครื่องคำนวญยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งใช้เป็นปฏิทินดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ เพราะแนวของหินกลุ่มก้องต่าง ๆ ล้วนมีความสัมพันธ์กับแนวการเคลื่อนของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวพระเคราะห์ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทฤษฏีทั้งหลายในปัจจจุบันจะมีตัวเลขและสถิติสนับเสนุนว่าเป็นจริง แต่ก็ยังไม่มีแนวคิดใดไขปริศนาลึกลับแห่งออีตของสโตนเฮนจ์ได้อย่างสมบูรณ์

คลองปานามา



คลองปานามา เป็นคลองเดินเรือสมุทรความยาว 77 กิโลเมตร สร้างขึ้นบริเวณคอคอดปานามาในประเทศปานามา เพื่อเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาที่ต้องไปอ้อมช่องแคบเดรกและแหลมฮอร์น ทางใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ คิดเป็นระยะทางกว่า 22,500 กิโลเมตร ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อการเดินเรือระหว่างสองมหาสมุทร โดยถูกใช้เป็นเส้นทางเดินเรือหลักสำหรับการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ตั้งแต่เปิดทำการ คลองปานามาประสบความสำเร็จและเป็นกุญแจสำคัญในการขนส่งสินค้าทั่วโลก จำนวนเรือที่ผ่านคลองปานามาเพิ่มขึ้นจาก 1,000 ลำต่อปีในยุคแรกเริ่ม มาเป็น 14,702 ลำต่อปี ในปี ค.ศ. 2008 มีระวางขับน้ำรวมทั้งสิ้น 309.6 ล้านตัน (คิดเป็นประมาณ 40 ลำต่อวัน ประมาณร้อยละ 5 ของเรือบรรทุกสินค้าทั่วโลก)
แนวความคิดในการขุดคลองปานามาจะมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 แล้ว ก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้างครั้งแรกในปี ค.ศ. 1880 ภายใต้บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสภายใต้การบริหารของนายแฟร์ดินองด์ เดอ เลสเซ็ปส์ แต่ก็ล้มเหลวไป มีคนงานกว่า 21,900 คนเสียชีวิต มักมีสาเหตุจากโรคระบาด (มาลาเรียหรือไข้เหลือง) และดินถล่ม จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาเข้ามาดำเนินงานต่อ โดยมีผู้เสียชีวิตราว 5,600 คน จนกระทั่งสามารถเปิดใช้งานได้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1914 นับเป็นหนึ่งในโครงการวิศวกรรมที่ใหญ่ที่สุดและยากลำบากที่สุดที่เคยมีมา

ประวัติ

หลักฐานที่มีการอ้างถึงคอคอดในอเมริกากลาง ย้อนไปเมื่อปี ค.ศ. 1524 เมื่อจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และกษัตริย์แห่งสเปนพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า จักรพรรดิชาลส์ที่ 5 ได้ทรงแนะนำว่า การสร้างคลองผ่านปานามาจะสร้างความสะดวกในการเดินเรือสัญจรไปมาระหว่างสเปนกับเปรู รวมไปถึงสร้างความได้เปรียบทางยุทธวิธีเหนือโปรตุเกสระหว่างการสำรวจโดยคณะสำรวจของพระองค์ระหว่างปี ค.ศ. 1788-1793 โดย อเลสซานโดร มาลาสปินาได้เสนอความเป็นไปได้และวางแผนโครงสร้างของคลอง
อเมริกากลางถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ คือเป็นแผ่นดินที่มีลักษณะแคบ แบ่งโดยมหาสมุทรขนาดใหญ่ 2 มหาสมุทร ความพยายามที่จะเชื่อมการค้าเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้วในบริเวณนี้ ในปี ค.ศ. 1698สกอตแลนด์ได้พยายามเข้ามาตั้งฐานการค้าบริเวณคอคอดปานามา โดยใช้แผนดารีเอน แต่เนื่องจากเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ไม่เอื้ออำนวย ในที่สุดก็ได้ออกจากปานามาไปในปี ค.ศ. 1700 และในที่สุดการรถไฟในปานามาก็ได้เกิดขึ้นเพื่อข้ามคอคอดนี้ได้เปิดใช้ในปี ค.ศ. 1855 เส้นทางสัญจรนี้ได้เอื้อหนุนให้การค้ามีความสะดวกขึ้น และเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการเลือกสร้างคลองเชื่อมคอคอดปานามาในภายหลัง


ความพยายามก่อสร้างของฝรั่งเศส


ภาพการขุดบริเวณช่องเขาเกลลาร์ด เมื่อปี 1907
การรื้อฟื้นแนวความคิดในเรื่องการเชื่อมทางน้ำต่อกันระหว่างมหาสมุทรทั้ง 2 มหาสมุทรเกิดขึ้นอยู่หลายครั้งหลายครา อย่างทางเชื่อมผ่านนิการากัวก็ได้มีการสำรวจอยู่บ่อยครั้ง รวมทั้งคลองปานามา เองเป็นหนึ่งในสองโครงการขุดคลองที่เคยดำริมาตั้งแต่ยุคสเปนเรืองอำนาจคริสต์ศตวรรษที่ 16 แล้ว จนในที่สุด การประสบความสำเร็จของการสร้างคลองสุเอซ รัฐบาลโคลอมเบียได้ให้สัมปทานกับนักผจญภัยชาวฝรั่งเศสชื่อ ลูเซียง นโปเลียน โบนาปาร์ต ไวส์ ในการขุดคลองซึ่งจะเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทรในบริเวณจังหวัดปานามา และเขาได้ขายสัมปทานต่อให้กับบริษัทฝรั่งเศสที่บริหารโดยนายแฟร์ดีนอง เดอ เลสเซป ซึ่งดำเนินการขุดคลองปานามาในทันที เขาได้เริ่มขุดคลองจากระดับน้ำทะเล (โดยไม่มีประตูกั้นน้ำ) เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1880 บริษัทฝรั่งเศสได้ทำงานอย่างรีบเร่งโดยขาดการศึกษาที่เพียงพอทั้งทางด้านภูมิประเทศและอุทกวิทยา อีกทั้งโรคภัยไข้เจ็บในภูมิอากาศเขตร้อนที่คนงานก่อสร้างคลองต้องเผชิญทั้งโรคไข้เหลืองและมาลาเรียคร่าชีวิตคนงานเป็นจำนวนมากและทำให้การก่อสร้างไม่คืบหน้าเท่าที่ควร เป็นเหตุให้คนงานต่างหวาดกลัวและหนีกลับฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1883 บริษัทฝรั่งเศสที่ได้สัมปทานไม่สามารถทำงานต่อได้ เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บและความลำบากในการขุดคลองในระดับน้ำทะเล การขาดประสบการณ์ภาคสนามของคนงาน อย่างเช่น การเก็บเครื่องมือที่เจอห่าฝนไม่ดี ทำให้เกิดสนิมจับ แต่ปัญหาหลักคือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น นับจำนวนคนที่เสียชีวิตระหว่างการขุดคลองปานามา (ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1881 - 1889) ได้กว่า 22,000 คน
จากหนังสือ Overthrow ของสตีเฟน คินเซอร์ในปี ค.ศ. 2006 ได้กล่าวไว้ว่าในปี ค.ศ. 1898 หัวหน้าคนหนึ่งในองค์การเกี่ยวกับคลองของฝรั่งเศส คือ ฟีลีป-ชอง บูโน-วารียา ได้จ้างวิลเลียม เนลสัน ครอมเวลล์ เพื่อโกงจากสภาคองเกรสของอเมริกา ที่จะสร้างคลองปานามา ไม่ใช่คลองที่ข้ามจากนิการากัว


การก่อสร้างของสหรัฐอเมริกา

ในปี ค.ศ. 1902 หลังจากได้มีการผลิตแสตมป์ 10 เซนต์ ชุดนิการากัวในสหรัฐอเมริกา ออกโดยบริษัทอเมริกันแบงก์โน้ต โดยเป็นภาพควันจากภูเขาไฟโมโมตัมโบ ซึ่งตั้งอยู่ห่างราว 160 กิโลเมตรจากสถานที่ที่เป็นแผนเสนอสร้างคลองนิการากัว จากจุดนี้เอง ครอมเวลได้สร้างข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ในนิวยอร์กซัน โดยมีรายงานว่า ภูเขาไฟโมโมตัมโบเกิดระเบิดขึ้นและเกิดแผ่นดินไหว หลังจากนั้นเขาได้ส่งใบปลิวไปพร้อมกับแสตมป์ไปให้กับวุฒิสมาชิก และในวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1902 สามวันหลังจากวุฒิสมาชิกได้รับแสตมป์ พวกเขาต่างลงคะแนนให้ปานามาเป็นเส้นทางในการขุดคลองลัด จากการโกงครั้งนี้เอง ครอมเวลล์ได้รับผลประโยชน์ไปราว 8 แสนเหรียญสหรัฐ
หลังจากที่บริษัทของนายเดอเลสเซปล้มละลายต้องขายโครงการขุดคลองทอดตลาดไป สหรัฐอเมริกาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการขุดคลองครั้งนี้ เนื่องจากในตอนที่สหรัฐอเมริกาได้ทำสงครามกับสเปนในปี ค.ศ. 1898 เห็นว่าการเดินทางระหว่างฝั่งตะวันตกกับตะวันออกเป็นเรื่องยุทธศาสตร์ ถ้ามีคลองลัดย่นระยะทางการเดินทางของเรือรบและเรือขนส่งยุทธสัมภาระได้ก็จะเป็นผลดีอย่างยิ่งในการป้องกันประเทศ รัฐบาลจึงเห็นความสำคัญในจุดนี้
โดยสหรัฐอเมริกาได้เจรจากับรัฐบาลโคลอมเบียว่า หากสหรัฐอเมริกาลงทุนขุดคลองแล้วก็ขอให้สหรัฐอเมริกาเช่าพื้นที่บริเวณนั้นเพื่อดำเนินการควบคุมการเข้าออกของเรือที่ผ่านคลอง แต่การตกลงเรื่องราคาค่าเช่าที่ไม่ลงตัว รัฐบาลโคลอมเบียไม่ตกลงกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนั้นชาวปานามากลัวว่าโคลอมเบียจะไม่แบ่งผลประโยชน์ให้เท่าที่พวกตนควรได้ จึงได้ก่อการปฏิวัติขึ้นและประกาศตัวเป็นประเทศเอกราช ซึ่งสหรัฐอเมริกาเองได้รับรองการเป็นเอกราชของปานามา และยังได้ช่วยไม่ให้โคลอมเบียยกกองทหารเข้ามาปราบปรามชาวปานามา จนในที่สุดสหรัฐอเมริกาได้ทำสัญญากับปานามาในปี ค.ศ. 1903 โดยปานามายกกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นระยะทางกว้าง 10 กิโลเมตร ตลอดแนวทางที่สหรัฐอเมริกาจะขุดคลอง และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ดำเนินการบริหารเป็นสิทธิขาดตลอดไป โดยสหรัฐอเมริกาจะจ่ายเงินตอบแทนให้ปานามาเป็นจำนวนเงิน 10 ล้านดอลลาร์ และจะให้เป็นประจำทุกปี อีกปีละ 250,000 ดอลลาร์ ส่วนสหรัฐอเมริกาก็ได้จ่ายเงินให้แก่โคลอมเบียเป็นเงิน 25 ล้านดอลล่าร์ในปี ค.ศ. 1921 และรัฐบาลโคลอมเบียรับรองความเป็นเอกราชของปานามาในสนธิสัญญาธอมสัน-อูรูเตีย
สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของทีโอดอร์ รูสเวลต์ได้ครอบครองเครื่องมือรวมถึงอุปกรณ์ขุดเจาะทั้งหมด ได้เริ่มต้นการทำงานเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1904 สิ่งสำคัญประการแรกคือ ได้เริ่มลงมือปราบปรามโรคร้ายที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการก่อสร้างคลอง พันเอก วิลเลียม ซี กอร์กัส ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการดังกล่าวกอร์กัสได้เริ่มรณรงค์ขจัดยุงชนิดหนึ่งซึ่งเป็นพาหะในการนำโรคไข้เหลืองและมาลาเรียโดยการขจัดหนองน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และขจัดพงหญ้าที่เป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของยุงเหล่านั้น ตลอดจนกำจัดหนูซึ่งเป็นพาหะกาฬโรค เขาใช้เวลาในการกำจัดอยู่ 10 ปี รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ใช้เงินไปประมาณ 20 ล้านดอลลาร์เฉพาะในการปราบปรามโรคเหล่านี้ จนใน ค.ศ. 1914 จึงได้ดำเนินการก่อสร้างคลองนี้ขึ้น โดยสหรัฐอเมริกาตัดสินใจที่จะก่อสร้างคลองที่มีประตูกั้นน้ำเป็นระยะ ๆ แทนที่จะเป็นคลองที่มีระดับน้ำเท่ากับระดับน้ำทะเล และหลังจากได้ตระเตรียมระบบพื้นฐาน ระบบการก่อสร้างของระบบประตูกั้นน้ำของคลองก็เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจัง สหรัฐอเมริกาจึงได้ค่อย ๆ เปลี่ยนเครื่องมือของฝรั่งเศสมาใช้เครื่องไม้เครื่องมือขนาดใหญ่สำหรับงานที่ใหญ่ขึ้น


การพัฒนาในภายหลัง

ในช่วงทศวรรษที่ 1930 ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นประเด็นที่เกิดขึ้น กระตุ้นให้เกิดการสร้างเขื่อนแมดเดนกั้นแม่น้ำชาเกรส เหนือทะเลสาบกาตูน ซึ่งเขื่อนแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1935 และได้สร้างทะเลสาบอาลาฮูเอลาที่เป็นเหมือนอ่างเก็บน้ำให้กับตัวคลอง ต่อมาในปี ค.ศ. 1939 การก่อสร้างได้เริ่มขึ้น และมีการปรับปรุง การขยายประตูน้ำเซตใหม่ของคลองซึ่งกว้างพอที่จะรับน้ำหนักเรือรบอเมริกัน การทำงานส่วนนี้ใช้เวลาหลายปี และการขุดเจาะช่องทางใหม่ก็เสร็จสมบูรณ์ แต่โครงการนี้ก็ถูกยกเลิกไปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

เรือมิสซูรี (Missouri) ของสหรัฐอเมริกาแล่นผ่านคลอง ภาพถ่ายเมื่อปี 1945
หลังจากสงครามยุติ สหรัฐอเมริกาเข้ามาควบคุมครองและพื้นที่บริเวณครอบครอง รัฐบาลปานามาก็เริ่มแสดงความไม่พอใจว่า สนธิสัญญาที่ทำกับสหรัฐอเมริกาโดยมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินและการบริหารงานบริเวณคลองให้สหรัฐอเมริกาเป็นสัญญาที่อยุติธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและปานามาได้เพิ่มความตึงเครียดมากขึ้น ชาวปานามาหลายคนเห็นว่าเขตบริเวณคลองปานามาเป็นของประเทศปานามา กลุ่มนักศึกษาได้เข้ามาประท้วงบริเวณรั้วของเขตบริเวณคลอง และทางสหรัฐอเมริกาก็เสริมกำลังทหารในบริเวณนั้น ชาวปานามาได้ก่อการจลาจลขึ้นในปี ค.ศ. 1964 มีชาวปานามาเสียชีวิต 20 คน และชาวอเมริกัน 4 คน จนกระทั่งการเจรจาได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1974 และได้ลงนามในสนธิสัญญาตอร์รีโฮส-คาร์เตอร์ เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1977 ลงนามโดยประธานาธิบดี จิมมี คาร์เตอร์ แห่งสหรัฐอเมริกา และประธานาธิบดี โอมาร์ ตอร์รีโฮส แห่งปานามา เป็นสัญญาที่ว่าด้วยขั้นตอนการครอบครองคลองให้ชาวปานามาได้เข้ามาควบคุมโดยอิสระยาวนานตราบเท่าที่ปานามารับประกันว่าจะรักษาความเป็นกลาง และยอมให้สหรัฐอเมริกากลับเข้ามาได้ทุกเมื่อ สหรัฐอเมริกาได้ยอมคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณคลอง ในปี ค.ศ. 1979 ถึงแม้ว่าจะเกิดการโต้แย้งภายในสหรัฐอเมริกามาโดยตลอด สนธิสัญญานี้ก็ได้มีผลให้ปานามาเข้ามาครอบครอง สหรัฐอเมริกาก็ยอมมอบสิทธิในการบริหารคลองปานามาให้กับรัฐบาลปานามาเมื่อเที่ยงวันของวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 ภายใต้การควบคุมขององค์การบริหารคลองปานามา (Panama Canal Authority หรือ ACP)

เส้นทางและองค์ประกอบ


คลองปานามา ช่วงประตูกาตูน
คลองปานามาประกอบด้วยทะเลสาบที่ขุดขึ้น 17 แห่ง และมีหลายจุดขุดเป็นช่องทางการเดินเรือ มีประตูอยู่ 2 จุด ทางฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก
จากทางมหาสมุทรแปซิฟิก ทางเข้าจากอ่าวปานามา ถึงประตูมีราโฟลเรส เป็นประตูน้ำ 2 ส่วน มีระยะทาง 13.2 กิโลเมตร (8.2 ไมล์) จากอ่าวปานามาเมื่อผ่านไปจะลอดสะพานบริดจ์ออฟดิอเมริกาส์ ต่อมาคือประตูมีราโฟลเรส ซึ่งมีกำแพงขนาดราวยาว 1.7 กิโลเมตร (1.1 ไมล์) ขนาบอยู่ จากจุดนี้ระดับน้ำจะสูงขึ้นไปอีก 16.5 เมตร (54 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล ถัดมาคือประตูเปโดรมีเกล ซึ่งมีความยาว 1.4 กิโลเมตร (0.8 ไมล์) เป็นจุดสุดท้ายที่มีการยกระดับขึ้นไป โดยยกขึ้นอีก 9.5 เมตร (31 ฟุต) ขึ้นสู่ระดับน้ำของคลอง
ช่องเขาเกลลาร์ดเป็นส่วนที่แยกทวีปอเมริกาออกเป็น 2 ส่วน โดยตัดภูเขากูเลบราเป็นระยะทาง 12.6 กิโลเมตร (7.8 ไมล์) ด้วยระดับความสูง 26 เมตร (85 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล การตัดคลองมีลักษณะโค้ง ปัจจุบันกำลังเพิ่มความกว้างขนาดคลองเพื่อความปลอดภัย
และถัดไปคือลอดสะพานเซนเทนเนียล แล้วจึงเข้าสู่แม่น้ำตามธรรมชาติคือแม่น้ำชาเกรส ตรงช่วงกลางของแม่น้ำมีเขื่อนกาตูน มีฐานเขื่อนกว้าง 8.5 กิโลเมตร (5.3 ไมล์) มียอดเขื่อนกว้าง 30.5 เมตร ถัดมาคือทะเลสาบกาตูน ครอบคลุมพื้นที่ 418.25 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดที่มนุษย์สร้างขึ้น และสุดท้ายประตูกาตูน เป็นประตูน้ำฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก แบ่งเป็นประตูน้ำ 3 ส่วน แต่ละประตูน้ำแบ่งเป็น 2 ช่องทาง ซึ่งแต่ละประตูจะมีความกว้าง 33.5 เมตร ยาว 305 เมตร รถลากจะลากเรือเข้ามาในประตูน้ำ หลังจากนั้นจะทำการปรับระดับน้ำทีละฟุต โดยใช้หลักการแรงดันน้ำจากระดับน้ำที่สูงกว่ายกระดับเรือผ่านประตูน้ำทั้ง 3 ระดับ ให้สูงกว่าระดับน้ำทะเลที่ 26 เมตร


คลองปานามาในปัจจุบัน

90 ปีตั้งแต่เปิดทำการ คลองปานามาก็ประสบความสำเร็จมาโดยตลอด ถึงแม้ว่าโลกของการขนส่งทางเรือ จะเปลี่ยนแปลงไปบ้างไม่ว่าจะเป็นขนาดของเรือเอง แต่คลองปานามาก็ยังคงเป็นมีความสำคัญในการเชื่อมโยงการค้าขายของตลาดโลก การขนส่งได้เพิ่มจำนวนขึ้นกว่าแต่ก่อน กับค่าใช้จ่ายที่น้อยลง แต่ถึงกระนั้นก็ตาม แนวโน้มของปัญหาต่าง ๆ ก็ยังตามมาด้วย


อนาคต

ด้วยความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น คลองปานามาก็ยังคงอยู่ตำแหน่งที่สำคัญของโลกแห่งการขนส่งสินค้าในอนาคต อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการขนส่งสินค้า อย่างเช่น จำนวนของเรือขนาดใหญ่ที่มีผลต่อยอดกำไรของคลอง มีการคาดการณ์ไว้ว่าในปี 2011 37% ของเรือขนส่งสินค้าจะใหญ่เกินไปสำหรับคลองปานามาในปัจจุบัน และต่อจากนี้ไปความผิดพลาดจะขยายมากขึ้นมีผลให้สูญเสียการครองตลาดไป ยอดความจุสูงสุดของคลองนี้ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย อยู่ที่ประมาณ 330-340 PC/UMS ตันต่อปี และมีการคาดการณ์ว่าตัวเลขนี้จะถึงในปี 2009 และ 2012 และกว่า 50% ของเรือมีความกว้างสูงสุดของประตูน้ำในปัจจุบันแล้ว
แผนการขยับขยายนั้นคล้ายกับประตูน้ำที่ 3 ที่สร้างขึ้นในปี 1939 เป็นการเพิ่มจำนวนการสัญจรในคลองและความสามารถที่จะรองรับเรือที่ใหญ่ขึ้นได้ถูกนำมาพิจารณาอยู่หลายครั้ง แผนการนี้ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของปานามา ซึ่งการเสนอการขยายคลองนี้ก็ได้ผ่านประชามติด้วยเสียงประมาณ 80% สนับสนุนเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2006


การขยับขยาย

ประตูแห่งใหม่ มี 3 ขั้น และประตูเลื่อนในแต่ละอ่างเก็บน้ำ
แผนในปัจจุบันคือการสร้างช่องทางเดินเรือ ขนานไปกับ 2 ช่องทางเดิม[47] จุดแรกทางทิศตะวันออกตรงบริเวณประตูกาตูน อีกที่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประตูมีราโฟลเรส ทั้ง 2 เพื่อรองรับช่องทางนั้น ๆ ในระดับที่สูงขึ้นไปจากระดับของมหาสมุทร ตรงเข้าสู่ทะเลสาบกาตูนและบริเวณมีราโฟลเรส/เปโดรมีเกล ที่ยังไม่ได้มีการสร้างประตูใหม่นี้จะมีการเพิ่มประตูเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยเป็น 2 เท่า มีความยาว 427 เมตร (1,400 ฟุต) กว้าง 55 เมตร (180 ฟุต) ลึก 18.3 เมตร (60 ฟุต) สามารถรองรับเรือที่มีความกว้างได้ถึง 49 เมตร (160 ฟุต) มีความยาวรวมทั้งหมด 366 เมตร (1,200 ฟุต)[2] ซึ่งหมายถึงเรือขนส่งสินค้าสามารถขนสินค้าได้ถึง 12,000 TEU
ประตูแห่งใหม่นี้ที่รองรับเส้นทางใหม่ ที่เส้นทางมีราโฟลเรสมีความยาว 6.2 กิโลเมตร (3.8 ไมล์) จากประตูสู่ช่องเขาเกลลาร์ด เลี่ยงทางออกทะเลสาบมีราโฟลเรส เส้นทางดังกล่าวกว้าง 218 เมตร (715 ฟุต) เพื่อต้องการรอบรับเรือขนาดใหญ่ที่สุดที่เดินทางสู่ช่องทาง ส่วนช่องเขาเกลลาร์ดก็จะทำการขยับขยายให้กว้างขึ้นไม่ต่ำกว่า 280 เมตร (918 ฟุต) ในทางตรงและในส่วนทางโค้งจะปรับให้กว้างไม่ต่ำกว่า 366 เมตร (1,200 ฟุต) ระดับสูงสุดของทะเลสาบกาตูนจะทำให้สูงจากระดับอ้างอิง 26.7 เมตร (87.5 ฟุต) ถึง 27.1 เมตร (89 ฟุต)
ประตูแต่ละแห่งกับอ่างเก็บน้ำทั้ง 9 แห่ง (3 แห่งต่อประตู) อ่างเก็บน้ำจะมีความขนาดเฉลี่ย กว้าง 70 เมตร (230 ฟุต) ยาว 430 เมตร (1,410 ฟุต) และ ลึก 5.50 เมตร (18 ฟุต) อ่างเก็บน้ำจะใช้น้ำ 60% ในการเข้ามาแต่ละครั้งของเรือและจะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ประตูแห่งใหม่จะใช้น้ำน้อยกว่า 7% ในแต่ละเที่ยว การขุดทะเลสาบกาตูนให้ลึกลงและการเพิ่มจำนวนน้ำมากขึ้นจะช่วยให้มีการกักเก็บน้ำที่มีจำเป็นในการใช้งานซึ่งการขยับขยายนี้ก็ยังช่วยให้ไม่ต้องมีการขุดอ่างเก็บน้ำแห่งใหม่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
อ่างเก็บน้ำ ในระดับความสูงที่แตกต่างกัน ลำเลียงทางน้ำล้นที่เกินออกเมื่อเรือผ่าน
ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการนี้โดยประมาณอยู่ที่ 5.25 พันล้านเหรียญสหรัฐ โครงการนี้ออกแบบมาเพื่อตั้งเป้าไว้ว่าจะรองรับการเจริญเติบโตของเส้นทางสัญจรได้จาก 280 ล้าน PC/UMS ในปี ค.ศ. 2005 ไปเป็น เกือบ 510 ล้าน PC/UMS ในปี ค.ศ. 2025 และน่าจะมีความสามารถในการรองรับได้ 600 ล้าน PC/UMS ต่อปี ส่วนค่าธรรมเนียมอยู่ระหว่างการคิดคำนวณโดยคำนวณจากขนาดของเรือแต่ไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งการใช้ประตู
ประตูแห่งใหม่คาดว่าจะเปิดใช้ในปี ค.ศ. 2015 ประตูในปัจจุบันซึ่งมีอายุร่วมร้อยปีแล้ว จะมีการปรับปรุงครั้งใหญ่และดำเนินการอย่างต่อไปอย่างไม่มีกำหนด จากบทความเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 ในนิตยสารป็อปปูลาร์เมคานิกส์ อธิบายไว้ว่า แผนของคลองปานามาจะมุ่งไปที่ด้านวิศวกรรมในการขยับขยายโครงการ
เดือนกันยายน ค.ศ. 2007 ได้มีการเริ่มต้นการขยับขยายคลอง โดยมีคนงานชาวปานามานับพันจากปาราอีโซ กรุงปานามาซิตี ร่วมกันระเบิดภูเขา อย่างไรก็ตามได้เกิดความเสียหายมีคนงานเสียชีวิต ในขณะที่รถบรรทุกชนเข้ากับเสาไฟฟ้าแรงสูง ช่วงแรกของโครงการจะทำการขุดแห้งคูกว้าง 218 เมตร (715 ฟุต) ให้เชื่อมต่อกับช่องเขากูเลบรากับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ได้ทำการขุดหิน 47 ล้านลูกบาศก์เมตร และได้ดำเนินงานด้วยเงิน 3 พันล้านเหรียญสหรัฐในการสร้างประตูแห่งใหม่และจะเริ่มปลายปี 2007 นี้